การบ้านครั้งที่ 1
นักศึกษาที่ได้เรียนไปแล้ว กลับไปเตรียมตัวในการเรียนครั้งต่อไปด้วยนะคะ อย่าลืมไปเตรียมเอกสารในการเรียนมาให้พร้อมนะคะ
วิชาปฎิบัติการฟิสิกส์ 1
วิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ 1 จะป็นตัวช่วยที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับ วิชาฟิสิกส์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นวิชาที่นำเอาทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์คิดไว้มาพิสูจน์ว่าตรงตามทฤษฎีหรือเปล่าคะ อาจารย์ว่าสนุกแน่สำหรับวิชานี้นะคะ นักศึกษาคิดเหมือนอาจารย์ไหมคะ
วันสอนชดเชย |
Documents $ Slide
ในรายวิชานี้เราใช้เอกสารคำสอนวิชาปฎิบัติการฟิสิกส์ 1 ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยเราจะเรียนตามการทดลองต่างๆดังนี้นะคะ
ประมวลรายวิชา PH211
- ประมวลรายวิชา PH211
ในประมวลรายวิชา PH211 นักศึกษาจะได้รู้ว่าแต่ล่ะสัปดาห์เราจะได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพื่อนักศึกษาจะได้เตรียมตัวก่อนเรียนค่ะ
การทดลองที่ 1 เรื่องเลขนัยสำคัญและการวัด
ในการทดลองนี้เราจะศึกษาความหมายของเลขนัยสำคัญ และการบันทึกผลการวัดและการคำนวณโดยอาศัยหลักของเลขนัยสำคัญ
การทดลองที่ 2 เรื่องการวัดความยาวอย่างละเอียด
การวัดความยาวอย่างละเอียดเพื่อศึกษาหลักการสร้างเครื่องวัดที่ประกอบด้วยสเกลเวอร์เนียร์ และสกรูไมโครมิเตอร์ และการใช้เวอร์เนียร์แคลิเพอร์ ไมโครมิเตอร์
การทดลองที่ 3 เรื่องกฎการอนุรักษ์ของพลังงานกล
การทดลองนี้เพื่อศึกษากฎการอนุรักษ์พลังงานกล และหาค่าพลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง และพลังงานศักย์ในสปริง
การทดลองที่ 4 ลูกตุ้มนาฬิกาฟิสิกัล
ในการทดลองนี้เพื่อศึกษาการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาฟิสิกัล หาโมเนต์ความเฉื่อยของลูกตุ้มนาฬิกาฟิสิกัล และหาตำแหน่งจุดศูนย์กลางของการแกว่ง
การทดลองที่ 5 ความหนืด
การทดลองเรื่องความหนืด เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุทรงกลมในของเหลวที่มีความหนืด และหาสัมประสิทธิ์ของความหนืดของกลีเซอรีน
การทดลองที่ 6 การศึกษาคลื่นนิ่งโดยวิธีของเมลด์
การทดลองนี้เป็นการศึกษาคลื่นตามขวางในเส้นเชือก ศึกษาคลื่นนิ่งของคลื่นตามขวางโดยวิธีของเมลด์ การหาความถี่ของคลื่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงเส้นของเชือกกับความยาวคลื่น
การทดลองที่ 7 กฎของบอยล์
การทดลองเรื่องกฎของบอยล์เป็นการศึกษากฎของบอยล์ และหาค่าความดันบรยากาศ
การทดลองที่ 8 มอดุลัสของยัง
ในการทดลองนี้เป็นการศึกษากฎของฮุก และหาค่ามอดุลัสของยัง
การทดลองที่ 9 ความตึงผิว
การทดลองเรื่องความตึงผิวศึกษาการใช้เครื่องชั้งของจอลลี และการวัดความตึงผิวของของเหลว
การทดลองที่ 10 โมเมนต์ความเฉื่อยของระบบอนุภาค
ในการทดลองเรื่องนี้ เพื่อทำนายความสัมพันธ์ J=f(r) สำหรับมวลแบบจุด ซึ่งแกว่งรอบแกนที่ระยะความยาวรัศมีต่างกัน และเปรียบเทียบโมเมนต์ความเฉื่อย สำหรับวัตถุซึ่งมีมวลเท่ากันแต่มีการกระจายของมวลต่างกัน
|